Connect with us

News

ทำไม !!! “กอล์ฟเกาหลี” ถึงมาแรง แซงทางโค้ง ?

Published

on

golf_korea_boom_golfdiggTODAY

ภาพรวมอุตสาหกรรมกอล์ฟเกาหลี กับเหตุผลที่ทำให้ตลาดกอล์ฟแดนกิมจิยังโตขึ้น

ในขณะที่ตัวเลขนักกอล์ฟในประเทศใหญ่ ๆ อย่างอเมริกาและญี่ปุ่นกำลังลดลง สวนทางกับนักกอล์ฟในเกาหลีที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ ทำให้ปัจจุบันเกาหลีกลายเป็นตลาดกอล์ฟที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รู้ไหมว่า ครั้งหนึ่งกีฬากอล์ฟก็เคยเป็นเรื่องไกลตัวของคนเกาหลีเหมือนกัน

บทความหนึ่งบทเว็บไซต์ MyGolfSpy ซึ่งเขียนและเรียบเรียงโดย เจมส์ ฉาง ผู้หลงใหลในเรื่องกอล์ฟชาวเกาหลี ได้สรุปให้เห็นถึงเม็ดเงินกว่าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯที่สะพัดอยู่ในอุตสาหกรรมกอล์ฟแดนกิมจิเมื่อปี 2016 โดยแยกย่อยออกเป็นหมวดต่าง ๆ ดังนี้

จะเห็นได้ว่าตัวเลขที่น่าสนใจในหมวด Equipment/Apparel หรือ อุปกรณ์และเครื่องแต่งกาย มีสัดส่วนสูงกว่าหมวดอื่นถึง 60% ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สะท้อนให้ว่าไม่เพียงแต่เรื่องของอุปกรณ์เท่านั้นที่นักกอล์ฟเกาหลีให้ความสำคัญแต่ยังรวมถึงภาพลักษณ์ที่ดีเมื่ออยู่บนสนามด้วย

เจมส์ ฉาง ยังเล่าอีกว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไอเดียเรื่องการฟิตติ้งไม้แบบยกชุดกลายเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่นักกอล์ฟหน้าใหม่ มันอาจจะแพงกว่า แต่ดูเหมือนความต้องการเหล่านี้กำลังเพิ่มขึ้นเลยทีเดียว ที่สำคัญเหล่ากอล์ฟเฟอร์ในเกาหลียังเป็นนักสะสมอุปกรณ์กอล์ฟตัวยง เสมือนเครื่องประดับบารมี ของใครใหม่กว่า แบรนด์ดีกว่าก็เอามาคุยโวในวงสนทนา

‘ฉันรู้จักคนคนนึงที่สะสมไม้พวกนี้และแขวนมันไว้เป็นคอลเลคชันที่ผนังบ้านรวมมูลค่าแล้วมีค่าพอที่จะซื้อแลมโบกินีและยังเหลือไปซื้อปอร์เช่ได้ด้วยนะ’ เขาเล่า

หากไม่นับรวม เรื่องของ พัค เซรี ตำนานนักกอล์ฟสาวผู้เป็นจุดเปลี่ยนคนสำคัญในวงการกอล์ฟเกาหลี ในปี 1988

Pak Se-ri

สิ่งหนึ่งที่ขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมกอล์ฟเกาหลีเติบโตขึ้น คือการปรับตัวเพื่อคนรุ่นใหม่

เมื่อเทคโนโลยีคืบคลานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ แทนที่จะออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน เด็ก ๆ หลายคนก็เลือกที่จะเล่นวิดีโอเกม หรือ เล่นโทรศัพท์มากกว่า ดังนั้นเพื่อดึงความสนใจให้คนรุ่นใหม่สนใจเรื่องกอล์ฟ ในหลายประเทศจึงนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับธุรกิจกอล์ฟมากขึ้น เกาหลีก็เช่นกัน

ในปี 2006 มีการเปิดตัว GolfZon สนามกอล์ฟซิมูลเตอร์ หรือเกมกอล์ฟจำลอง หรือที่เรียกว่า Screen Golf ได้เปิดโลกใบใหม่แก่คนที่ไม่เคยสนใจกีฬานี้มาก่อน ไม่ช้าพวกเขาก็เริ่มลงทุนกับอุปกรณ์และสนใจที่จะออกรอบบนสนามจริงมากขึ้น

ปัจจุบันอัตราการเติบโตของกอล์ฟอยู่ในผู้เล่นช่วงอายุ 20 และ 30 ปี และยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงอายุ 40 ปี

สำหรับสนามกอล์ฟซิมูเลเตอร์ชั้นนำของเกาหลีอย่าง GolfZon หลายที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชม. และตั้งอยู่ทั่วไปในทุกเมือง สนนราคาราว 15-25 เหรียญต่อคน

ระบบซิมูเลเตอร์ส่วนใหญ่จะจำลองการออกรอบด้วยภาพสนามที่มีให้เลือกกว่า 100 สนามทั่วโลก มีระบบคะแนน และเสียง อีกทั้งยังสามารถวิเคราห์วงสวิงและจัดอันดับการเล่นของคุณร่วมกับนักกอล์ฟหลายล้านคนข้ามประเทศได้อีกด้วย ที่สำคัญหมดกังวลแม้อุปกรณ์จะไม่พร้อม เพราะราคาที่คุณจ่ายเขารวมค่าเช่า หัวไม้ รองเท้า ถุงมือ ลูกกอล์ฟ เรียบร้อยแล้ว สำหรับใครที่รู้สึกล้าจากการตีลูกกับหน้าจอ ก็ยังมีสนามซ้อมนอกห้องที่กั้นด้วยตาข่ายแบบที่เรามักเห็นนักกอล์ฟที่เกาหลีเขาซ้อมกัน

มากกว่านั้นในเกาหลียังมีการจัดการแข่งขันและถ่ายทอดสดระดับมืออาชีพ ที่มีผู้สนับสนุนและเงินรางวัลจำนวนมากด้วย

การเล่นกอล์ฟในเกาหลีที่แท้จริงผู้เขียนเล่าว่า คือการเล่นด้วยใจรัก เพราะต้องใช้เวลาทั้งวันเพื่อวางแผนการเล่นอย่างรอบคอบ

ถ้าจะให้กล่าวสรุป คงปฏิเสธไม่ได้ว่า พัค เซรี คือ จุดเปลี่ยนที่ทำให้คนเกาหลีหันมันให้ความสำคัญกับกีฬาดวลวงสวิงจริง ๆ  ยิ่งการปรับตัวเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ ๆ อย่าง screen golf ก็เป็นส่วนสำคัญที่กระตุ้นให้อุตสาหกรรมกอล์ฟในเกาหลีเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ต้องนับรวมความทะเยอทะยานและใจรัก ของคนเกาหลีด้วย ที่ทำให้เขายังคงมุ่งมั่นแม้จะมีอุปสรรคอะไรก็ตาม

หรือบางทีผลตอบแทนในกีฬานี้อาจจะคุ้มค่าพอที่เขาจะอุทิศตนก็เป็นได้

อ้างอิง : https://mygolfspy.com/an-inside-look-at-golf-in-korea-its-different-over-there/




เรียบเรียงโดย golfdigg

จองกรีนฟี ออกรอบกว่า 150 สนามกอล์ฟทั่วไทยกับ golfdigg ได้แล้ว
บนเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันฟรีได้ที่