Article
อาการบาดเจ็บ ในกีฬากอล์ฟ !!!
แน่นอนว่ากีฬากอล์ฟแม้ว่าจะไม่ใช่กีฬาที่ใช้การปะทะของร่างกาย หรือต้องออกแรงเยอะเหมือนกีฬาอื่นๆ แต่อาการบาดเจ็บก็อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เราต้องพบกับการบาดเจ็บเหล่านั้น เราลองไปดูกันว่าการบาดเจ็บในกีฬากอล์ฟนั้นมีอะไรกันบ้าง
แน่นอนว่ากีฬากอล์ฟแม้ว่าจะไม่ใช่กีฬาที่ใช้การปะทะของร่างกาย หรือต้องออกแรงเยอะเหมือนกีฬาอื่นๆ แต่อาการบาดเจ็บก็อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เราต้องพบกับการบาดเจ็บเหล่านั้น เราลองไปดูกันว่าการบาดเจ็บในกีฬากอล์ฟนั้นมีอะไรกันบ้าง
อวัยวะที่เกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกอล์ฟที่เรามักจะพบกันได้บ่อยๆ ก็คือ มือ ข้อมือ หัวไหล่ แขน ลำตัว และขา ซึ่งสาเหตุของการบาดเจ็บที่พบคือ การเล่นมากหรือหนักเกินไป การตีถูกพื้น วงสวิงที่ไม่ถูกต้อง การตีลูกแรงหรือเร็วเกินไป การอบอุ่นร่างกายที่ไม่พอเพียง การบิดหรือหมุนของลำตัวที่ผิด และการเปลี่ยนการจับไม้หรือวงสวิง การบาดเจ็บบริเวณหลังพบได้บ่อยและมีตั้งแต่การปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการใช้ งานที่มากเกินไป การอักเสบของกล้ามเนื้อเนื่องจากการฉีกขาดในขณะหมุนตัวที่ไม่ถูกต้อง ไปจนกระทั่งการที่กระดูกสันหลังแตกหักในผู้สูงอายุ โดยที่ความรุนแรงของอาการเจ็บจะแตกต่างกันไปตามเพศ วัย ความแข็งแรงของร่างกาย การเตรียมตัวก่อนออกรอบ ความสามารถ ระดับความหนักและความถี่ของการเล่น
อาการบาดเจ็บนั้นเกิดขึ้นได้กับทั้งนักกีฬาอาชีพและนักกอล์ฟสมัครเล่น อย่างนักกอล์ฟอาชีพก็เกิดการบาดเจ็บได้ เนื่องจากโปรแกรมการฝึกซ้อมในแต่ละวันที่หนักและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมง ในแต่ละปีประเทศสหรัฐอเมริกามีนักกอล์ฟอาชีพเกิดการบาดเจ็บร้อยละ 60 และส่วนใหญ่จะพบที่บริเวณหลัง ข้อมือและไหล่ ขณะที่การบาดเจ็บของนักกอล์ฟสมัครเล่นแตกต่างจากนักกอล์ฟอาชีพคือ พบที่บริเวณหลังส่วนล่าง และข้อศอก ส่วนบริเวณหลัง กล้ามเนื้อ ข้อศอกและเข่าพบรองลงมา โดยอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยก็คือ
1. ข้อมือ (wrist)
การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อมือถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากมีแรงกระแทกขณะที่ไม้กอล์ฟกระทบกับลูกกอล์ฟ พบว่าเกิดกับนักกอล์ฟที่มีฝีมือดี หากมีการกระทบบริเวณแขนและข้อมือเป็นประจำ อาการบาดเจ็บจะรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อผู้เล่นมีอาการบาดเจ็บเดิมอยู่แล้ว เช่น การอักเสบของเอ็นหรือกล้ามเนื้อแขนและข้อมือ เป็นต้น
2. ไหล่ (shoulder)
ไหล่เป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากที่สุด การศึกษาการทำงานที่ซับซ้อนของไหล่ระหว่างการสวิงสามารถทราบถึงความยืดหยุ่นและความแข็งแรงที่เป็นรูปแบบเฉพาะ การออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายจะช่วยในการฟื้นฟู การป้องกันการบาดเจ็บและเพิ่มประสิทธิภาพของไหล่ได้
3. ข้อศอก (elbow)
นอกจากจะพบการบาดเจ็บหลังส่วนล่างเป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังเกิดการบาดเจ็บสะสมบริเวณข้อศอก พบบ่อยที่สุดคือ medial epicondylitis หรือเรียกว่า golfer’s elbow และ lateral epicondylitis หรือเรียกว่า tennis’s elbow อาการบาดเจ็บทั้งสองมีผลจากเทคนิคการการเหวี่ยงไม้กอล์ฟไม่ถูกต้อง golfer’s elbow เกิดเนื่องจากผู้เล่นเหวี่ยงในลักษณะที่เรียกว่า fat หรือไม้มีการกระแทกพื้น ส่วน tennis’s elbow อาจเกิดจากการหวี่ยงก้านไม้เกินเส้นขนาน หรือที่เรียกว่า over swinging
เรียบเรียงโดย golfdigg
จองกรีนฟี ออกรอบกว่า 150 สนามกอล์ฟทั่วไทยกับ golfdigg ได้แล้ว
บนเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันฟรีได้ที่